วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

แมลงหวี่เป็นพาหะโรคตาแดง เยื่อตาอักเสบ และริดสีดวงตา
- มีอายุ ๒ สัปดาห์
- ไข่ได้ครั้งละ ๕๐ ฟอง/ตัว ชั่วชีวิตอาจไข่ได้มากถึง ๘๐๐ ฟอง
- ชอบผักหรือผลไม้สุกงอมใกล้เน่า จึงพบแมลงหวี่มากในฤดูร้อน
- สามารถแพร่พันธุ์ได้ตามท่อระบายน้ำ กองขยะ เสษผ้าขี้ริ้วฯ

 

ผึ้งหลวง Apis dorsata F.
- เป็นผึ้งพื้นเมืองชนิดหนึ่งของไทยและประเทศอื่นๆ ทางคาบสมุทรอินเดียและเอเชียอาคเนย์
- มีขนาดตัวใหญ่ มีท้องเป็นปล้องสีเหลืองและดำ
- สร้างรังประกอบด้วย รวงเพียงรวงเดียว ห้อยจากกิ่งไม้ หน้าผา หรือชายคาบ้าน รวงของผึ้งหลวงมีขนาดใหญ่ บางครั้งกว้างเกินกว่า ๑ เมตร
- ประชากรส่วนใหญ่ของผึ้งงานของผึ้งหลวงทำหน้าที่ ป้องกันรังด้วยการแขวนตัวเป็นม่านปกคลุมรัง

เราไม่สามารถนำ ผึ้งหลวง มาเลี้ยงในภาชนะ หรือเลี้ยงในอุตสาหกรรมการเลี้ยงผึ้งได้ เพราะผึ้งงานของผึ้งหลวง จะต้องเห็นดวงอาทิตย์ หรือ ท้องฟ้า ในขณะที่มันเต้นรำ เพื่อที่จะส่งข่าวสาร เรื่องตำแหน่งของอาหารได้อย่างถูกต้อง






กบอ๋อง ใกล้ทางน้ำที่มาจากกลุ่มเขาฟ้าผ่า-ซับกระทิง, สีกบเหมือนกับสิ่งแวดล้อม
- ภาพบนกบหันหน้าไปทางซ้าย
- ภาพล่างกบหันหน้าไปทางขวา

จันทร์ ๑๕ มีค ๕๓



แตนหมาใหญ่ ( ปีกสีแดง) กำลังกินแมงมุม

อาทิตย์ ๑๔ มีค ๕๓



แมง จินูน ที่พักแรม
- แมงขะหนุน , แมงอิฮูม

คืนอาทิตย์ ๑๔ มีค ๕๓

แมงจินูน สีน้ำตาลอมแดง ชอบกินใบไม้อ่อนๆ เช่นใบมะขาม ตะโก
- คนอีสานชอบเอาตัวเล็กๆมาคั่วไฟอ่อน ทานกับข้าวเหนียว
- มีเฉพาะหน้าแล้งใบไม้ผลัดใบ ออกใบอ่อน พวกมันจะพากันมากินใบไม้ตอนหัวค่ำ ถ้าตกดึกกินอิ่มแล้วจะบินไปที่อื่น ตอนกลางวันจะหลบซ่อนตัวตามพุ่มไม้หรือพื้นดิน



เห็บแดง ปีกแข็ง มาจากดงกล้วยโทน ถ้าถูกกัด ไข้จะขึ้นสูงมาก



แมงใบไม้

กิ้งกือป้อม


กลุ่มของ แมงแดง กำลังกิน ขี้หมูป่า



ผีเสื้อ back & white กำลังกินซากปูตาย


แมงมุมสวย + รัง



จิ้งหรีด
..
แมลงปอ
.

ตัวเพลี้ยไก่แจ้


ตั๊กแตน


แมลงทับ
sternocera acquisignata มีหลายสี ที่สวยคือสีน้ำเงินแลเะขียว


ตะขาบ ที่ทางน้ำคลองโลกา-ผาดำตะวันตก

อังคาร ๒๐ เมย ๕๓



กิ้งกือ


เต่าทอง


รังแตน


แมลงมุม


รังแมลงขี้สูด เกาะอยู่กับหิน

ตะเข็บสีแดง (ขี้เข็บ, แมงคา)
ชอบอาหารพวกมูลฝอย ช่วยย่อยสลายพวกพืช
- ตะเข็บนับล้านตัว เคยบุกเข้า ม.เพชรโสธร ต.กกโก อ. เมือง จ.ลพบุรี เมื่อ พค ๕๐ และ เข้าม.บุหัวช้าง ต.ตะขบ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา เมื่อ มิย ๕๐
- ไม่กัด แต่ถ้าเข้าไปในหูจะไม่ออกมา
- ถือเป็นลางร้ายของหมู่บ้านนั้น


หอยหอม มีชีวิต พรานชอบเก็บไปขาย-กิน
หอยหอม (cyclophorid snails) หรือ หอยภูเขา
- เป็นหอยทากบกกลุ่มที่มีฝาปิดเปลือก ( operculum)
- มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวที่เป็นเอกลักษณ์ เมื่อนำมาประกอบอาหารเช่น ย่าง เผา หรือต้ม
- เปลือกหนาและแข็ง สีเปลือกมีตั้งแต่ ขาวขุ่น น้ำตาลเข้มและสีดำ ขอบปากเปลือกหนา หรือบานออกคล้ายปากแตร
- อาศัยบนพื้นดินที่ชื้น ตามแนวเทือกเขาหรือที่ราบสูง โดยเฉพาะภูเขาหินปูน

ในฤดูฝนมักพบหอยหอมเดินบนเศษซากใบไม้ ในช่วงอากาศแห้งแล้ง หอยหอมจะจำศีลหลบอยู่ในรูหรือโพรง
- หอยหอมช่วยย่อยเศษซากใบไม้
- สัตว์พวก นก หนู ลิงและสัตว์ฟันแทะอื่นๆ กินหอยหอมเป็นอาหาร
- ประเทศไทยมีหอยหอมอยู่ประมาณ ๑๐ species





ตั๊กแตนต่อยมวย


เต่าเหลือง ตัวผู้ มีร่องตื้นทีกระดองส่วนท้อง


เต่าเหลือง ตัวเมีย กำลังตั้งครรภ์ ท้องออกพองกว่าตัวผู้




ด้วงไม้ สีดำ-แดง



มดตะนอย



แมลงสาบป่า


กิ้งกือภูเขา



รังมดดำ


แมงมุม



ซากจั๊กจั่น
จั๊กจั่น ตัวผู้ที่โตเต็มวัย ส่งเสียงร้องเรียกตัวเมีย เข้ามาผสมพันธุ์ แล้วตัวเมียจะวางไข่ตามเปลือกไม้ที่เป็นร่อง เป็นหลืบ
- ไข่เป็นตัวอ่อน ตัวอ่อนไปอาศัยใต้ดิน ๗ ปี โดยกินรากไม้ รากฝอย รากแขนง กินน้ำใต้ดิน
- เมื่อครบ ๗ ปี จะขึ้นมาเกาะบนกิ่งไม้ ใบไม้แห้งๆ เพื่อผึ่งตัว ตากตัวในแสงแดด>> มีตัวแดงๆออกมา นั่นคือใกล้เต็มวัยแล้ว แข็งแรง บินไปเกาะตามกิ่งไม้ ส่งเสียงร้อง เรียกตัวเมีย มาผสมพันธุ์.........
- ช่วงชีวิตที่จักจั่นขึ้นมาอยู่บนพื้นดิน-ในอากาศ เขาจะมีอายุเพียง ๖-๗ วัน



รังและแตนเสือ


หอยทาก ใกล้น้ำตกธารทิพย์

ไม่มีกระดูกสันหลัง
- กำเนิดเมื่อประมาณสี่ร้อยล้านปีก่อน
- ปัจจุบันมีหอยทากประมาณ ๕๐๐ ชนิด

พบแพร่หลายในฤดูฝน
- มันออกหากินสะสมอาหารจำนวนมากและแพร่ขยายพันธ์
- ชอบออกหากินกลางคืน
- หลบแดดในเวลากลางวัน
- เจริญเติบโตเร็ว วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ ๕-๘ เดือน วางไข่กลุ่มละ ๒๐๐-๓๐๐ ฟอง ตัวหนึ่งวางไข่ปีละ ๑๐๐๐ ฟอง ตัวอ่อนตายเป็นจำนวนมาก
- เคลื่อนที่ช้ามาก
- อายุเฉลี่ยของหอยทากคือ ๕ ปี อยู่ได้แม้ไม่กินอะไรเลยถึง ๑ ปี

อาหารของหอยทาก
- ใบไม้ ต้นไม้ ข้าว เศษอาหาร เชื้อราตามซากใบไม้ทับถม

ประโยชน์ของหอยทาก(บาป จ้ะ)
- ทำเป็นปุ๋ยหมักอินทรีย์
- ประกอบเป็นอาหาร เนื้อนุ่ม รสชาติดี



ไข่หอยเชอรี่ ใกล้ ทางเข้า น้ำตกตะคร้อ

หอยเชอรี่ หรือ หอยโข่งอเมริกาใต้ หรือ หอยเป๋าฮื้อน้ำจืด
- Golden Apple Snail, Pomacea canaliculata
หอยน้ำจืดจำพวกฝาเดียว
- ๑. พวกมีเปลือกสีเหลืองปนน้ำตาล เนื้อและหนวดสีเหลือง
- ๒. พวกมีเปลือกสีเขียวเข้มปนดำ และมีสีดำจางๆพากตามความยาว เนื้อและหนวดสีน้ำตาลอ่อน

เจริญเติบโตและขยายพันธ์ได้รวดเร็ว
- ลูกหอยอายุเพียง ๒-๓ เดือน จะจับคู่ผสมพันธ์ได้ตลอดเวลา หลังจากผสมพันธ์ได้ ๑-๒ วัน ตัวเมียจะวางไข่ในเวลากลางคืน โดยคลานไปวางไข่ตามที่แห้งเหนือน้ำ เช่นตามกิ่งไม้ ต้นหญ้าริมน้ำ โคนต้นไม้ริมน้ำข้างๆคันนา และตามต้นข้าวในนา
- ไข่มีสีชมพูเกาะติดกันเป็นกลุ่มยาว ๒-๓ นิ้ว แต่ละกลุ่มประกอบด้วยไข่เป็นฟองเล็กๆเรียงตัวเป็นระเบียบสวยงาม ประมาณ ๔๐๐-๓๐๐๐ ฟอง ไข่จะฟักออกเป็นตัวหอยภายใน ๗-๑๒ วัน หลังวางไข่

เดิมหอยเชอรี่ เป็นหอยน้ำจีดในแหล่งน้ำทวีปอเมริกาใต้
- ประเทศไทยนำเข้ามาครั้งแรกจากประเทศญี่ปุ่นและไต้หวัน เพื่อกำจัดตะไคร่น้ำและเศษอาหารในตู้ปลา นิยมเลี้ยงก่อนปีพ.ศ. ๒๕๓๐ ต่อมามีผู้นำมาเพาะขยายเพื่อการบริโภค แต่ไม่ได้รับความนิยม จึงปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติ จนกลายเป็นปัญหาชนิดพันธุ๋ต่างถิ่นในปัจจุบัน

เนื้อหอยเชอรี่ มีโปรตีนสูงถึง ๔๐ % ไขมัน 1.6% ใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่าง หรือทำน้ำปลาจากเนื้อหอย ใช้ทำเป็นอาหารสัตว์เลี้ยงพวก เป็ด ไก่ สุกร
- เปลือกใช้ปรับสภาพดินจากกรดเป็นด่าง
- ตัวหอยทั้งเปลือกใช้ทำปุ๋ย

หอยเชอรี่ กินพืชที่มีลักษณะนุ่มเช่น สาหร่าย ผักบุ้ง แหน ต้นกล้า ข้าว ซากพืชน้ำ และซากสัตว์เน่าเปื่อยในน้ำ
- ชอบกินต้นข้าวในระยะกล้าคือ ๑๐ วัน มากที่สุด ใช้เวลากินทั้งต้นทั้งใบ นาน ๒ นาที





ขุยไส้เดือน พบที่ป่าของวัดพระยาทด อ.เสาไห้ จ.สระบุรี

ไส้เดือน ช่วยพรวนดิน ย่อยสลายสารอินทรีย์ในดิน ทำให้ดินร่วนซุย ต้นไม้โตเร็ว
- อาจมีไส้เดือน ๓๐-๓๐๐ ตัวในดิน ๑ ต.ร.ม.



แมลงมุม ที่น้ำตกสามหลั่น



แมลงสาบป่า ที่บริเวณน้ำตกสามหลั่น




แมลงมุม สีเหลือง-ดำ ที่น้ำตกวังม่วง ต.นาหินลาด อ.ปากพลี จ.นครนายก
พุธ ๑๗ พย ๕๓




แมลงสีแดง- ดำ จำนวนมากที่น้ำตกวังม่วง ต.นาหินลาด อ.ปากพลี จ.นครนายก

พุธ ๑๗ พย ๕๓


แมลงกินใบไม้ ที่เขาชา



หอยเวียน (บริโภคได้)